เมนู

เดียรัจฉานทั้งหลาย เพราะวิจิตรด้วยสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมกัน)
เพราะวิจิตรด้วยวัตถุ (ที่อาศัย) เพราะวิจิตรด้วยทวาร เพราะวิจิตร
ด้วยอารมณ์ ทั้งเพราะให้สำเร็จความวิจิตรเป็นอเนก เช่น เพศต่าง ๆ กัน
สัญญาต่าง ๆ กัน โวหารต่าง ๆ กัน เป็นต้น ซึ่งมีกรรมชนิดต่าง ๆ กัน
เป็นมูล.
บทว่า รชโก ได้แก่ ช่างที่เขียนรูปด้วยสี ลงในวัตถุทั้งหลาย
ก็ช่างนั้น (ถ้า) ไม่ฉลาด ก็จะเขียนรูปได้ไม่น่าพอใจ (แต่ถ้า) ฉลาด
ก็เขียนรูปได้ น่าพอใจ สวยน่าดูฉันใด. ปุถุชนก็เป็นอย่างนั้นแหละ
คือย่อมยังรูปที่ผิดปกติอันเว้นจากคุณสมบัติ มีความถึงพร้อมด้วย
จักษุเป็นต้น ให้เกิดขึ้นด้วยอกุศลจิต หรือด้วยกุศลจิตที่เป็นญาณวิปปยุต
ย่อมยังรูปที่สวยงามอันถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ มีความถึงพร้อมด้วย
จักษุเป็นต้น ให้เกิดขึ้นด้วยกุศลจิตที่เป็นญาณสัมปยุต.
จบ อรรถกถาคัททูลสูตรที่ 2

9. นาวาสูตร



ว่าด้วยความสิ้น และไม่สิ้นไปแห่งอาสวะ



[260] กรุงสาวัตถี. ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต
กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ ไม่กล่าว
ความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่
ภิกษุทั้งหลายเมื่อรู้ เมื่อเห็นอะไร จึงมีความสิ้นอาสวะ ? เมื่อบุคคล
รู้รูปอย่างนี้ การเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้ ความดับสูญไปแห่งรูปอย่างนี้
เวทนาอย่างนี้... สัญญาอย่างนี้... สังขารอย่างนี้... วิญญาณอย่างนี้
ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณอย่างนี้ ความดับสูญไปแห่งวิญญาณอย่างนี้

(จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่
อย่างนี้แล จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
[261] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
ภาวนานุโยคอยู่ ถึงจะเกิดความปรารถนาว่า ไฉนหนอ จิตของเราพึง
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นก็จริง. แต่ที่แท้จิตของเขา
ก็ไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยืดมั่นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ข้อนั้น
พึงกล่าวได้ว่า เพราะไม่ได้อบรมแล้ว. เพราะไม่ได้อบรมอะไร ?
เพราะไม่ได้อบรมสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5
พละ 5 โพชฌงค์ 7
(และ) มรรคมีองค์ 8. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฟองไข่
ของแม่ไก่ 8 ฟองบ้าง 10 ฟองบ้าง 12 ฟองบ้าง ที่แม่ไก่ไม่ได้นอนทับ
ไม่ได้กก ไม่ได้ฟัก ถึงแม่ไก่นั้น จะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ขึ้นว่า
ไฉนหนอ ลูกของเรา จะพึงใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปาก เจาะ
กะเปาะฟอง ออกมาโดยสวัสดี ก็จริงแล แต่ทว่า ไม่ควรที่ลูกไก่เหล่านั้น
จะใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปาก เจาะกะเปาะฟองออกมาโดยสวัสดี
ได้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าฟองไข่ ของ
แม่ไก่ 8 ฟอง 10 ฟอง หรือ 12 ฟอง แม่ไก่ไม่ได้นอนทับ ไม่ได้กก
ไม่ได้ฟักเลย ฉันใด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ได้ประกอบเนือง ๆ
ซึ่งภาวนานุโยคอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถึงจะเกิดความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ไฉนหนอ จิตของเรา จะพึงพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ
ไม่ยึดมั่น ก็จริงแล แต่ที่แท้ จิตของเธอจะไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่นได้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะ
ไม่ได้อบรมแล้ว. เพราะไม่ได้อบรมอะไร ? เพราะไม่ได้อบรมสติปัฏฐาน 4
สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และ
มรรคมีองค์ 8. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่ง

ภาวนานุโยคอยู่ ถึงจะไม่เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ
จิตของเรา จะพึงพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นก็จริงแล
ถึงกระนั้น จิตของเธอก็จะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่
ยึดมั่นได้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะได้อบรมแล้ว.
เพราะได้อบรมอะไร ? เพราะได้อบรม สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7
และ มรรคมีองค์ 8.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฟองไข่ 8 ฟอง 10 ฟอง หรือ 12 ฟอง ที่แม่ไก่
นอนทับแล้ว กกแล้ว ฟักแล้ว ถึงแม้แม่ไก่นั้น จะไม่พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ลูกของเรา จึงจะใช้ปลายเล็บเท้า หรือ
จะงอยปาก ทำลายกะเปาะฟองออกมาโดยสวัสดี ก็จริงแล แต่ทว่า
ลูกไก่เหล่านั้น ควรจะใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปาก ทำลายกะเปาะ
ฟองออกมาโดยสวัสดี. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ? เพราะว่า ฟองไข่ 8 ฟอง
10 ฟอง หรือ 12 ฟอง แม่ไก่ได้นอนทับ ได้กก ได้ฟักมาแล้วอย่างนั้น
แม้ฉันใด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
ภาวนานุโยค
อยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้จะไม่เกิดความปรารถนา
ขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ จิตของเรา จะพึงพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่นก็จริงแล แต่จิตของเธอก็จะพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะ
ได้อบรมแล้ว. ถามว่า เพราะได้อบรมอะไร ? แก้ว่า เพราะได้อบรม
สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7
(และ) มรรคมีองค์ 8

[262] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยนิ้วมือ หรือรอยหัวแม่มือ
ของช่างไม้ หรือลูกมือของช่างไม้ ย่อมปรากฏ ด้ามมีดให้เห็น แด่ว่า
ช่างไม้ หรือลูกมือของช่างไม้นั้นหารู้ไม่ว่า วันนี้ ด้ามมีดของเรา

สึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้ วานซืนนี้สึกไปเท่านี้ มีความรู้แต่เพียงว่า
ด้ามมีดนั้นสึก ๆ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบเนือง ๆ
ซึ่งภาวนานุโยคอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้จะไม่มีความรู้อย่างนี้ว่า
วันนี้ อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้ วานซืนนี้
สิ้นไปเท่านี้ ก็จริง แต่เธอก็รู้ว่าสิ้นไปแล้ว ๆ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
เรือเดินสมุทร ที่เขาผูกด้วยเชือกผูกคือหวาย แช่อยู่ในน้ำ 6 เดือน
ในฤดูหนาว ลากขึ้นบก เชือกคือหวาย ที่ถูกลมและแดดพัดเผา ถูก
เมฆฝนตกชะรด ก็จะเปื่อยผุไป โดยไม่ยากฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่งภาวนานุโยคอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
สัญโญชน์ก็จะเสื่อมสิ้นไปโดยไม่ยากเลย.
จบ นาวาสูตรที่ 9

อรรถกถานาวาสูตรที่ 9



พึงทราบวินิจฉัยในนาวาสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว กุกฺกุฏิยา อณฺฑานิ ความว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสอุปมา 2 ข้อนี้ไว้ ด้วยอำนาจธรรมที่เป็นฝ่ายดำ และ
ฝ่ายขาว1. บรรดาอุปมา 2 ข้อนั้น อุปมาว่าด้วยธรรมที่เป็นฝ่ายดำ
ยังไม่ให้สำเร็จประโยชน์ (แต่) อุปมาว่าด้วยธรรมที่เป็นฝ่ายขาว
นอกนี้ทำให้สำเร็จประโยชน์ได้แล. พึงทราบเนื้อความของอุปมา
ว่าด้วยธรรมฝ่ายขาว2 อย่างนี้.
บทว่า เสยฺยถา เป็นนิบาต ใช้ในความหมายเป็นข้ออุปมา.
1 ปาฐะว่า คณฺหปกฺขสุกฺขปกฺขวเสน ฉบับพม่าเป็น กณฺหปกฺขสุกฺกปกฺขวเสน แปลตามฉบับพม่า.
2. ปาฐะว่า สุกฺขปกฺขอุปมาย ฉบับพม่าเป็น สุกฺกปกฺขอุปมาย แปลตามฉบับพม่า.